http://sagehouse.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

สินค้า

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

แนวข้อสอบO-netวิชาสังคมศึกษา

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สถิติ

เปิดเว็บ02/10/2010
อัพเดท19/10/2023
ผู้เข้าชม1,200,653
เปิดเพจ1,504,243
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

สินค้ามาใหม่
 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภูมิศาสตร์กายภาพเบื้องต้น และปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่  1   ภูมิศาสตร์กายภาพเบื้องต้น และปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องภูมิศาสตร์กายภาพเบื้องต้น

ชาญณรงค์  บัวแย้มแสง  โรงเรียนโยธินบูรณะ

เรียบเรียง

เรื่องที่  1  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลก

 

โลก (The  Earth) เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ  (The  Solar  System)    หรือหนึ่งในดาวเคราะห์ทั้งแปดดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์  (ไม่นับรวมดาวพลูโต  ซึ่งนักดาราศาสตร์ทั่วโลกประชุมและลงความเห็นว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระไม่ใช่ดาวเคราะห์ในปี  พ.ศ.2549)    [1]ดวงอาทิตย์ของเราก็เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในจำนวนกว่าสองแสนล้านดวงในดาราจักรทางช้างเผือก  (The  Milky  Way  Galaxy)  ดาราจักรทางช้างเผือกของเราก็เป็นดาราจักรดวงหนึ่งในจำนวนกว่าสามสิบดวงในกระจุกดาราจักรประจำถิ่น  (The  Local  Group)  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรยวดยิ่งเวอร์โก  (The  Virgo  Supercluster)  และกระจุกดาราจักรเวอร์โก  รวมทั้งกระจุกดาราจักรอื่นๆอีกมากมาย จึงประกอบเป็นโครงสร้างโดยรวมของจักรวาล  (The  Universe)  (นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า  ในจักรวาลของเรามีดาราจักรประมาณแปดหมื่นล้านดาราจักร  ซึ่งมีจำนวนดาวฤกษ์รวมกันกว่าหนึ่งหมื่นล้านล้านล้านดวง) 

 

 

1.1  รูปทรงสัณฐานของโลก

ลักษณะรูปทรงสัณฐานของโลกแท้จริงนั้นไม่กลมเสียทีเดียว   โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวเส้นศูนย์สูตรหรืออีเควเตอร์ยาว 12,756  กิโลเมตร  และเส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วโลกเหนือและใต้นั้นยาว  12,714  กิโลเมตร  จากภาพรัศมี a จะยาวกว่ารัศมี b จะเห็นได้ว่าโลกนั้นไม่กลมอย่างแท้จริงแต่จะมีลักษณะแบนเล็กน้อย  รูปทรงของโลกลักษณะนี้เราเรียกว่า  ทรงสเฟียรอยด์  (Spheroid)

ที่มาภาพ : http://www.icsm.gov.au/mapping/datums2.html


ที่มาภาพ : http://www.123rf.com/photo_12761136_earth-globe-cloud-map-side-of-the-asia-and-australia.html

ในอดีตเชื่อกันว่าโลกแบนแต่ปัจจุบันได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าโลกมีลักษณะรูปทรงเป็นทรงกลม  ซึ่งดูได้จาก

1.  ภาพถ่ายทางอากาศและภาพข้อมูลจากดาวเทียม  ซึ่งถ่ายในระยะสูง  จะเห็นว่าโลกกลม

2.  ขณะเกิดจันทรุปราคา  จะเห็นเงาของโลกที่ไปบังดวงจันทร์มีลักษณะเป็นวงกลม

3.  สังเกตจากเรือที่แล่นอยู่ชายฝั่งจะค่อยๆเห็นบางส่วนของเรือจนเต็มลำ

 4.  สังเกตจากตะวันขึ้นและตะวันตก  โลกหมุนรอบตัวเองมีผลทำให้ดินแดนทางตะวันออกเห็นตะวันขึ้นก่อนดินแดนทางตะวันตก  แต่ถ้าหากโลกแบนดินแดนทุกบริเวณจะเห็นพระอาทิตย์ทุกบริเวณในเวลาเดียวกัน

        1.2  ขนาดของโลก

ดาวเคราะห์จัดเรียงกันตามขนาด(จากใหญ่ไปเล็ก)  โลกจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ  5  รองจาก     ดาวพฤหัส  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน  โดยโลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว  12,756  กิโลเมตร  และเส้นรอบวงยาว  40,075  กิโลเมตร  

 

 

 1.2  การเอียงของแกนโลก

 แกนสมมติของโลก (Earth ‘s Axis)  คือแกนโลกในแนวเหนือใต้ที่หมุนรอบตัวเองตลอดเวลา  แกนโลกจะตั้งฉากกับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกที่เส้นศูนย์สูตร  แกนโลกเอียงทำมุม  23.5 องศากับแนวดิ่ง

 

ที่มาภาพ : http://sociopages.wikispaces.com/Earth+as+a+Planet


1.3  การหมุนรอบตัวเองของโลก

                โลกหมุนรอบตัวเองครบ  1  รอบใช้เวลา  23  ชั่วโมง  56 นาที  4.09  วินาที หรือประมาณ  1 วัน  โดยหมุนจากซ้ายไปขวา  หากดูจากขั้วโลกเหนือโลกจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา  การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดกลางวัน  กลางคืนบนโลก 

 


ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=ah_gXnjjdk4&feature=player_embedded



1.4  การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

             โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในระบบสุริยะจักรวาล  โดยโคจร  1  รอบใช้เวลา  365.2422  วัน  หรือ  365  วัน  5  ชั่วโมง  48  นาที  45.68  วินาที  หรือประมาณ  1  ปี  สำหรับเศษนั้น  จะสะสมไว้เพิ่มเป็นวันที่  29  กุมภาพันธ์  ของทุกๆ  4  ปี  โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี  ด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ  105,600  กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางมากน้อยตามตำแหน่งต่างๆดังรูป  โดยในวันที่  21 ธันวาคมโลกจะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด  เป็นระยะทาง  91.5  ล้านไมล์  และในที่  21 มิถุนายน โลกจะอยู่ในตำแหน่งที่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด  เป็นระยะทาง  94.5  ล้าน  โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์คิดเป็นระยะทางโดยเฉลี่ย  93  ล้านไมล์     การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆบนโลก

 



เรื่องที่  2  ภูมิศาสตร์กายภาพเบื้องต้น 

 

2.1  โครงสร้างและส่วนประกอบของโลก

                                                                                                                                             

 

 

โครงสร้างของโลก  ประกอบด้วย  3  ส่วนใหญ่  ดังนี้

      1)  ชั้นเปลือกโลก  (Crust)  ส่วนที่เป็นของแข็งชั้นนอกสุดของโลก  มีความหนาประมาณ  16 – 40 กิโลเมตร  ประกอบด้วยเปลือกโลกที่เป็นทวีปและเปลือกโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทร ชั้นเปลือกโลกยังแบ่งออกย่อยได้อีก  2  ชั้น  คือเปลือกโลกชั้นบน  เรียกว่าไซแอล  (SIAL)   และเปลือกโลกชั้นล่าง  เรียกว่าไซมา  (SIMA) 

      2)  ชั้นเนื้อโลก  (Mantle)  หรือ โลกชั้นกลาง  หรือชั้นแมนเทิล  ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ชั้นคือ  แมนเทิลชั้นบน  และแมนเทิลชั้นล่าง  ชั้นเนื้อโลกเป็นชั้นที่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไป  มีความหนาประมาณ  2,895  กิโลเมตร  มีลักษณะเป็นของแข็ง  ที่มีชื่อเรียกว่า  หินหนืด  (Magma)  หิดหนืดเป็นสารประกอบเคมีที่อยู่ในสภาพของหนืดได้  เพราะถูกแวดล้อมด้วยความร้อนสูง  มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา  เมื่อเกิดรอยร้าวขึ้นบริเวณเปลือกโลกจะเป็นทางให้หินหนืดแทรกขึ้นสู่ผิวพิภพได้

      3)  ชั้นแก่นโลก  (Core)   คือ  ส่วนของโลกชั้นในสุด แก่นโลกแบ่งย่อยออกเป็น  2  ชั้น   คือ แก่นโลกส่วนนอก  (outer  core)  ประกอบด้วยหินเหลวจำพวกเหล็กมีความหนาแน่นสูง  และแก่นโลกส่วนใน (inner  core)    ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิล ในสภาพที่ร้อนจัดอาจมีอุณหภูมิสูงถึง  4,000  องศาเซลเซียส  แก่นโลกอาจมีธาตุอื่นประกอบด้วยแต่เป็นปริมาณที่น้อย  ได้แก่  ซิลิคอน  กำมะถัน  และออกซิเจน  ปัจจุบันเชื่อว่าความร้อนจากบริเวณแก่นโลกมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นทวีปบริเวณชั้นเปลือกโลก

ส่วนของเปลือกโลกที่ประกอบด้วยของแข็งได้แก่  หิน  และแร่ธาตุชนิดต่างๆ  ธาตุนับว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่รวมกันเป็นมวลของโลก  แร่ประกอบด้วยธาตุชนิดต่างๆรวมตัวกัน  หินประกอบด้วยแร่หนึ่งชนิดขึ้นไปรวมตัวกัน    ส่วนของเปลือกโลกถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์  นอกจากจะเป็นถิ่นที่อยู่ที่สำคัญของมนุษย์และสิ่งมีชีวิทั้งมวลแล้ว  ยังเป็นบ่อเกิดแห่งทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด  ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมหาศาล   พื้นที่บริเวณเปลือกโลกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  ได้แก่  ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปและส่วนที่เป็นภาคพื้นสมุทร

          ธาตุ    ธาตุที่ประกอบเป็นโลกมีมากกว่า  100  ธาตุ  แต่ละธาตุมีปริมาณและสถานะแตกต่างกันโดยมีสถานะเป็นทั้งของแข็ง  ของเหลวและก๊าซ  ส่วนประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่(ร้อยละ  99)  ประกอบด้วยธาตุ  8  ชนิด   คือ  ออกซิเจน  ซิลิกอน  อะลูมินัม  เหล็ก  แคลเซียม  โปแทสเซียม  และแมกนีเซียม     ดังตาราง

ธาตุ

สัญลักษณ์

ปริมาณ  (ร้อยละ)

น้ำหนัก

ปริมาตร

อะตอม

1.  ออกซิเจน (Oxygen)

2.  ซิลิกอน (Silicon)

3.  อะลูมินัม (Aluminum)

4.  เหล็ก (Iron)

5.  แคลเซียม (Calcium)

6.  โซเดียม(Sodium)

7. โปแทสเซียม(Potassium)

8. แมกนีเซียม(magnesium)

9.  อื่นๆ

O

Si

Al

Fe

Ca

Na

K

Mg

46.6

27.7

8.1

5.0

3.6

2.8

2.6

2.1

1.5

93.8

0.9

0.9

0.5

1.0

1.2

1.5

0.3

-

60.5

20.5

6.2

1.9

1.9

2.5

1.8

1.4

3.3

รวม

100

100

100

(ดัดแปลงจากกองเศรษฐกิจเผยแพร่,2526 และ ครองชัย  หัตถา  ,2533)


                แร่  คือ  สารประกอบที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปโดยมีสัดส่วนคงที่เช่น  แร่ควอตซ์ประกอบด้วยธาตุซิลิกอน  1  อะตอมและออกซิเจน  2  อะตอมแต่อาจมีแร่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวได้ (กลุ่มธาตุธรรมชาติ) เช่น แร่ทองแดง  ตะกั่ว  ดีบุก  เป็นต้น

        หิน   คือ  ของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป  หินอาจประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวจนถึงหลายชนิดรวมตัวกันก็ได้  เช่น  หินปูน  ประกอบแร่แคลไซด์อย่างเดียว  หินแกรนิต  ประกอบด้วยแร่ควอตซ์  เฟลด์สปาร์และไมก้า  เป็นต้น

        หินเปลือกโลกสามารถแบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่มใหญ่ตามลักษณะการเกิด  ได้แก่  หินอัคนี  หินชั้น  และหินแปร

                1)  หินอัคนี  (Igneous  Rocks)  เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดหรือวัตถุหลอมละลายภายในโลกจนกลายเป็นหินแข็ง  หินอัคนีที่เย็นตัวใต้ผิวโลกระดับลึกเรียกว่า หินอัคนีภายใน  หรือหินอัคนีแทรกซ้อน  (Intrusive  rocks)  บางทีเรียกว่าหินแลบการเกิดหินอัคนีภายในจะค่อยๆเย็นลงทีละน้อยจึงมีระยะเวลานานพอที่จะเกิดผลึก  ตัวอย่างเช่น  หินแกรนิตเกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดในระดับลึก  โดยอุณหภูมิค่อยๆลดลงทีละน้อย  จึงมีระยะเวลานานพอที่แร่ต่างๆในหินหนืดจะเกิดเป็นผลึกได้  หินแกรนิตจึงมีเนื้อหยาบสามารถมองเห็นเนื้อหรือผลึกของแร่อย่างชัดเจน  ส่วนหินอัคนีที่เย็นตัวบริเวณผิวโลกเรียกว่า  หินอัคนีภายนอก  หรือหินอัคนีพุ (Extrusive  rock)  บางทีเรียกว่าหินไหล  หินอัคนีที่เย็นตัวภายนอที่ผิวโลกอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว  เช่น  กรณีลาวาภูเขาไฟซึ่งมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า  1,000  องศาเซลเซียส  เย็นตัวลงอย่างทันทีทันใดเมื่อสัมผัสกับอากาศที่ผิวโลก  แร่ประกอบหินในลาวาไม่สามารถเกิดเป็นผลึกได้ทัน  จึงมักปรากฏเป็นหินที่มีเนื้อแบบแก้ว  ที่เรียกว่าแก้วธรรมชาติ  ผลของการเย็นตัวอย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดหินแบบไม่มีผลึก  หรือผลึกเล็กมาก

 




ภาพแสดงลักษณะการเกิดหิน

ที่มา : http://www.dmr.go.th/main.php?filename=rocks

หินแกรนิต

ที่มาภาพ : http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/main.php?filename=rocks

                2)  หินชั้นหรือหินตะกอน    (Sedimentary  Rock) เกิดจากการรวมตัวถับถมของชิ้นสิ่งหินเดิม  โดยกระบวนการทางกลศาสตร์หรืออาจเกิดโดยการกตะกอนทางเคมี  รวมถึงการสะสมรวมตัวของซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืช  สัตว์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก  โดยมีการเชื่อมยึด  ซึ่งอาจจะเกิดการอัดตัว  การเชื่อมยึดโดยสารเชื่อม  เช่น  ซิลิกาคาร์บอเนต    แร่ดินเหนียว  เหล็กและอะลูมินัมออกไซด์  และอินทรีย์สารบางประเภท  หินชั้นที่สำคัญได้แก่

                        - หินปูน  (Limestone) เกิดจากการถับถมของตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต ( CaCO3 ) ถ้าแร่แคลไซต์จัดตัวยังไม่แน่นจะเรียกว่าหินชอล์ก (Chalk)  หรือดินสอพอง  แคลไซต์ที่มีดินเหนียวปนมากเรียกว่า ดินมาร์ล  (Marl

หินปูน

ที่มาภาพ : http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/main.php?filename=rocks

                        - หินทราย  (Sandstone)  เกิดจากการทับถมของเม็ดทรายและมีสารอื่นเชื่อมประสาน  เช่น  ซิลิกา  หินทรายจะมีสีต่างกันตามแร่ที่ปนอยู่และสารเชื่อมประสาน

หินทราย

ที่มาภาพ : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Permian-Triassic_boundary.jpg

                        - หินดินดาน  (Shale)  เกิดจากการตกตะกอนแล้วอัดตัวของดินเหนียวและโคลน  มีการอัดตัวเป็นชั้นบางๆขนานกันไป  หินดินดานเป็นหินแน่นทึบน้ำซึมผ่านได้ยากและเป็นหินชั้นที่มีมากที่สุดในบรรดาหินชั้นทั้งหมด

ที่มาภาพ : http://elearning.stkc.go.th/lms/html/earth_science/LOcanada2/206/3_th.htm

 

               

3)  หินแปร  (Metamorphic  Rock)  เป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพของหินชนิดต่างๆเนื่องจากหินเดิมได้รับความกดดัน  ความร้อน  และปฏิกิริยาทางเคมี  เช่น  การบีบอัดของเปลือกโลก  หรือการแทรกซ้อนของหินหลอมละลาย  เป็นต้น

 

ตัวอย่างหินแปรที่สำคัญได้แก่

หินเดิม

หินแปร

1.  หินดินดาน

2.  หินปูน

3.  หินแกรนิต

4.  หินทราย

หินชนวน

หินอ่อน

หินไนส์

หินควอร์ตไซด์

 

 ที่มาภาพ : http://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99.jpg

2.2  ลักษณะภูมิประเทศและปัจจัยต่อการเกิดลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของโลก

 

      ผิวโลกปกคลุมด้วยทะเลและมหาสมุทรประมาณร้อยละ  70  และส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปประมาณร้อยละ  30  ลักษณะภูมิประเทศส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปประกอบด้วยพื้นผิวต่างๆ  แบ่งตามลักษณะใหญ่ๆ  ได้แก่  ที่ราบ  ที่ราบสูง  เนินเขา  และภูเขา

 

          ที่ราบหรือพื้นที่ราบ  ได้แก่ภูมิประเทศที่ราบเรียบหรือมีลักษณะเป็นลูกคลื่นเพียงเล็กน้อย  โดยปกติความสูงต่ำของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะแตกต่างกันไม่เกิน  150  เมตร  ปัจจัยที่ทำให้เกิดที่ราบได้แก่

                1)  การทับถมของตะกอน  ซึ่งอาจเกิดจากกระแสน้ำพัดพา  คลื่นในทะเลหรือเมื่อน้ำท่วม  เช่น  ที่ราบลุ่มบริเวณภาคกลางของประเทศไทย  ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี  เป็นต้น

                2)  ที่ราบเกิดจากการทับถมของลาวา  เช่น  ที่ราบในเกาะชวา  ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย  ที่ราบในเกาะลูซอน  ประเทศฟิลิปปินส์

                3)  ที่ราบที่เกิดจากการสึกกร่อนโดยตัวกระทำ    การสึกกร่อนโดยตัวกระทำ เช่น กระแสลม  หรือน้ำทำให้ภูมิประเทศที่เคยสูงชันค่อยๆต่ำลง  จึงกลายเป็นที่ราบหรือเนินเตี้ยๆในที่สุด  หรือกระแสลมอาจจะพัดพาดินทรายอนุภาคขนาดเล็กมาทับถมจนเป็นพื้นที่ราบได้  เช่น  ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหในสาธารณรัฐประชาชนจีน  ที่ราบปามปัสในประเทศอาร์เจนตินา  ที่ราบในรัฐแคนซัส  เนแบรสกา อิลลินนอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

                4)  ที่ราบที่เกิดจากการยกตัวหรือยุบตัวของเปลือกโลกเป็นบริเวณกว้าง  เช่น  ที่ราบภาคกลางของทวีปยุโรป  ที่ราบยูเครนในประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย

                5)  ที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งกัดเซาะหรือทับถม

 

        ที่ราบสูง  คือ  พื้นที่ที่สูงกว่าระดับของผิวโลกหรือท้องถิ่นโดยรอบเป็นบริเวณกว้างตั้งแต่  300  เมตรขึ้นไป  โดยปกติจะมีของผาชันอย่างน้อยหนึ่งด้านจากพื้นที่รอบๆ  ที่ราบสูงอาจแบ่งออกได้เป็น  3  ชนิด  ได้แก่

                1)  ที่ราบสูงเชิงเขา  เป็นที่ราบราบที่อยู่ระหว่างภูเขากับที่ราบ  เช่น  ที่ราบสูงปตาโกเนีย  ในประเทศอาเจนตินา

                2)  ที่ราบสูงระหว่างเขา  เป็นที่ราบสูงที่มีภูเขาล้อมรอบหรือเกือบล้อมรอบ  ส่วนมากจะเกิดขึ้นพร้อมๆกับการเกิดภูเขานั้นเป็นที่ราบสูงที่มีความสูงมากที่สุด  เช่น  ที่ราบสูงทิเบต  ที่ราบสูงอนาโตเลีย  ในประเทศตุรกี  ที่ราบสูงเม็กซิโก  ที่ราบสูงมองโกเลีย  เป็นต้น  

                3)  ที่ราบสูงทวีป  หรือที่ราบสูงรูปโต๊ะ  เป็นที่ราบสูงที่อยู่ระหว่างพื้นที่ราบ  เช่น             ที่ราบสูงเดคคาน  ในประเทศอินเดีย  ที่ราบสูงบาร์เลย์ในประเทศออสเตรเลีย  เป็นต้น

ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก

ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์

ที่มาภาพ : http://antonya1.blogspot.com/2010/08/part-2.html

 

        เนินเขา  หมายถึง  พื้นที่ที่สูงมากกว่าบริเวณโดยรอบตั้งแต่  150  เมตร  แต่ไม่เกิน  600  เมตร  มักเป็นลูกคลื่น  เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกหรือเกิดจากการกร่อนตัวของภูเขา

 เนินเขาในจังหวัดสระบุรี

ที่มาภาพ : http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=27884

 

 

        ภูเขา  หมายถึง  พื้นที่ที่มีความสูงมากกว่าบริเวณโดยรอบตั้งแต่  600  เมตรขึ้นไป  หากภูเขาสูงมีแนวยาวต่อเนื่องกันเรียกว่า  เทือกเขา  (Sierra)  ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูเขาได้แก่

                1)  ภูเขาที่เกิดจากการคดโค้งของชั้นหินเปลือกโลก  ปรากฏในบริเวณเปลือกโลกที่เคยได้รับแรงอัดภายในโลกกระทำอย่างรุนแรงในอดีต  จนเกิดโครงสร้างคดโค้งขนาดใหญ่และเป็นแนวยาวอยู่ในภูมิภาคต่างๆของโลก  ภูเขาเหล่านี้เดิมอาจเป็นพื้นที่ต่ำหรือทะเลตื้น  ต่อมาได้รับแรงอัดในแนวขนาน  ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวเขาสูง    บางครั้งจะพบสร้างดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่เคยอยู่ในเขตน้ำตื้นตามภูเขาสูงๆ  เช่น  เทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย  เทือกเขาแอลป์ในทางใต้ของทวีปยุโรป  เทือกเขารอกกีในทวีปอเมริกาเหนือ  เทือกเขาแอนดิสในทวีปอเมริกาใต้  เทือกเขาเกรตดิไวดิงในทวีปออสเตรเลีย  เป็นต้น

 ภาพตัดขวางของเทือกเขา  แสดงการบีบอัดของชั้นหินเปลือกโลก 

ที่มาภาพ : http://board.palungjit.com/f178/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7-and-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2-51734-488.html

 


                 2)  ภูเขาที่เกิดจากแรงดันภายใต้เปลือกโลก  เรียกว่าภูเขารูปโดมมีลักษณะโค้งนูนแบบหลังเต่า  ไม่เป็นสัน  ยอดไม่แหลม  เช่น  แบล์กฮิลในสหรัฐอเมริกา  ภูเขารัชเมอร์ที่มีการแกะสลักอดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา  ไว้ 4 คน คือ  ยอร์จ วอชิงตัน  โทมัส เจฟเฟอร์สัน  อับราฮัม ลินคอล์น  และธีโอดอร์ รุสเวลต์

 

 ที่มาภาพ : http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2009/10/E8468561/E8468561.html

 

                3)  ภูเขาที่เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลก    เรียกว่าภูเขาบล็อก  ภูเขาที่เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลก    ทำให้พื้นที่หนึ่งยุบตัวและพื้นที่หนึ่งยกตัวสูงขึ้นทำให้เกิดภูเขาที่ด้านข้างมีความชันและยอดราบ  เช่น  เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา  เทือกเขาวอชัทซ์  ในประเทศสหรัฐอเมริกา  สำหรับในประเทศไทยได้แก่  ภูกระดึง  ภูหลวง  ภูเรือ  เป็นต้น 

                บางแห่งรอยเลื่อนทำให้เกิดหุบเขาทรุด  ซึ่งมีพื้นล่างราบและบางแห่งกว้างมาก  เช่น  หุบเขาไรน์  ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน  อยู่ระหว่างภูเขาบล็อก 2 แห่ง คือ ภูเขาวอสก์และภูเขาแบล็กฟอเรสต์ 

 

 

 

 

 

ภาพจำลองภูเขาที่เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลก                   ภาพจำลองหุบเขาทรุด 

 ที่มาภาพ : http://quizlet.com/5257566/print/

หุบเขาไรน์

ที่มาภาพ : http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=thaimirumo_fans&board=3&id=45&c=1&order=numview

                4)  ภูเขาที่เกิดจากการปะทุของลาวา  เรียกว่าภูเขาไฟ  เกิดขึ้นเมื่อหินหนืดดันตัวจนทำให้เปลือกโลกโก่งตัวสูงขึ้นและโผล่พ้นผิวโลกหรือภูเขาไฟระเบิด  ภูเขามีลักษณะรูปกรวย

 

ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/volcano/index.htm

 

ที่มาภาพ : http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=51296

        ใต้พื้นมหาสมุทรไม่ใช่พื้นที่ราบเรียบแต่มีลักษณะภูมิประเทศหลายแบบ  เช่น  มีเทือกเขา  ที่ราบ     ร่องลึก   ส่วนที่ตื้นที่สุดของมหาสมุทรคือบริเวณพื้นท้องทะเลรอบขอบทวีปต่าง ๆ  ซึ่งเรียกกันว่าไหลทวีป

 

ที่มาภาพ : http://ytt7yr259gmailcom.blogspot.com/2010_06_01_archive.html

 

 

ที่มาภาพ : http://www.munjeed.com/news_detail.php?id=45845

 

2.3  ชั้นบรรยากาศโลก

บรรยากาศ เป็นส่วนที่ห่อหุ้มพื้นผิวของดวงดาว มนุษย์เรานั้นนับว่าอาศัยอยู่ ณ ก้นบึ้งของห้วงมหาสมุทรแห่งอากาศ อันเป็นสิ่งที่เราหายใจเข้าไปอยู่ตลอดเวลาเพื่อยังชีวิต เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆทั้งหลายบนโลกเรานี้ บรรยากาศเป็นปัจจัยสำคัญอันยิ่งยวดต่อการดำรงชีวิต ดุจดังปลาที่จะไม่รอดหากพ้นน้ำ มนุษย์เราก็จะขาดใจตายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีที่ไม่ได้รับอากาศหายใจ บรรยากาศที่บนผิวนอกของพื้นดาว เป็นสิ่งที่ชี้บอกได้ว่า ชีวิตจะดำรงอยู่ได้หรือไม่บนพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงนั้น เพราะนอกจากเป็นปัจจัยยังชีพที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวแล้ว บรรยากาศ ยังช่วยกรองซับรังสีจากดวงอาทิตย์ ในส่วนที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงชีวิตให้เราด้วย

      ถ้าโลกไร้บรรยากาศ เราก็จะไม่มี ทะเลสาบ หรือมหาสมุทร และก็คงไร้สรรพเสียงสำเนียงใดๆ ทั้งไร้เมฆ ไร้สีสันอันตระการยามตะวันตกดิน พื้นโลกจะร้อนรนจนไม่มีใครทนไหว ยามค่ำคืนอุณหภูมิก็จะลดลงให้หนาวเย็นยะเยือกจนเราทนไม่

เมื่อมองดูจากอวกาศ จะเห็นว่าโลกของเรามีบรรยากาศชั้นบางๆ ห่อหุ้มอยู่  บรรยากาศส่วนใหญ่มีลักษณะโปร่งแสง มองเห็นเป็นฝ้าบางๆ ที่ขอบของโลก  นอกจากนั้นยังมีกลุ่มเมฆสีขาวซึ่งเกิดจากน้ำในบรรยากาศ  เมื่อเปรียบเทียบความหนาของบรรยากาศเพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร กับรัศมีของโลกซึ่งยาวถึง 6,400 กิโลเมตร จะเห็นว่าบรรยากาศของโลกนั้นบางมาก   ดังนั้นบรรยากาศของจึงอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงมาก  ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิดขึ้น ณ ที่แห่งหนึ่ง  กระแสลมก็สามารถหอบหิ้วเถ้าภูเขาไฟ ไปยังอีกซีกหนึ่งของโลก  ซึ่งยังผลให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปด้วย

  ที่มาภาพ : http://webboard.herorangers.com/webboard/Topic.aspx?id=86531


นักวิทยาศาสตร์แบ่งโครงสร้างของบรรยากาศของเป็นชั้นๆ โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ กัน อาทิ แบ่งตามสัดส่วนของก๊าซ  แบ่งตามคุณสมบัติทางไฟฟ้า  แต่ในการศึกษาด้านอุตุนิยมวิทยาแล้ว เราแบ่งชั้นบรรยากาศตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ดังนี้

 

 ที่มาภาพ : http://www.kanta.ac.th/media/sci/www.lesa.in.th/atmosphere/atm_structure/atm_structure.htm

 

 1) โทรโพสเฟียร์ (Troposphere)

เป็นบรรยากาศชั้นล่างสุดที่เราอาศัย มีความหนาประมาณ 10 - 15 กิโลเมตร  ร้อยละ 80 ของมวลอากาศทั้งหมดอยู่ในบรรยากาศชั้นนี้  แหล่งกำเนิดความร้อนของโทรโพสเฟียร์คือ พื้นผิวโลกซึ่งดูดกลืนรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ และแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา  ดังนั้นยิ่งสูงขึ้นไปอุณหภูมิจะลดต่ำลงในอัตรา 6.5°C ต่อ 1 กิโลเมตร  จนกระทั่งระยะสูงประมาณ 12 กิโลเมตร อุณหภูมิจะคงที่ประมาณ -60°C ที่รอยต่อชั้นบนซึ่งเรียกว่า โทรโพพอส (Tropopause) 

โทรโพสเฟียร์มีไอน้ำอยู่จำนวนมาก จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำฟ้าต่างๆ เช่น เมฆ พายุ ฝน เป็นต้น  บรรยากาศชั้นนี้มักปรากฏสภาพอากาศรุนแรง เนื่องจากมีมวลอากาศอยู่หนาแน่น และการดูดคายความร้อนแฝง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำในอากาศ รวมทั้งอิทธิพลทางภูมิศาสตร์ของพื้นผิวโลก

2)  สเตรโตสเฟียร์  (Stratosphere) 

เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปและอยู่สูงจากระดับผิวโลกประมาณ  50  กิโลเมตร  อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูงจากขอบบนของโทรโพสเฟียร์ซึ่งมีอุณหภูมิ  -  57  องศาเซลเซียส จนถึงระดับสูง  50 กิโลเมตร  มีอุณหภูมิประมาณ  0  องศาเซลเซียส  แนวสูงสุดของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่าสเตรโตพอส  (Stratopos)   ลักษณะทั่วไปของบรรยากาศชั้นนี้จะมีกระแสอากาศเคลื่อนที่ในแนวนอนและสภาพของอากาศสงบ  เนื่องจากบรรยากาศไม่มีไอน้ำ  เมฆ  ในชั้นนี้จะพบโอโซน  (Ozone Layer) ส่วนล่างของบรรยากาศชั้นสเตรโตสเฟียร์ที่ติดอยู่กับแนวโทรโพพอสจะมีอากาศที่สงบไม่แปรปรวนเนื่องจากมีฝุ่นละออง  ไอน้ำ  น้อยมาก  ท้องฟ้าแจ่มใส  ปราศจากเมฆ  ด้วยเหตุนี้เองนักบินจึงนิยมใช้ระดับเพดานบินของเครื่องบินอยู่ในบรรยากาศชั้นสเตรโตสเฟียร์

3) เมโซสเฟียร์  (Mesosphere) 

เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากชั้นสเตรโตสเฟียร์ขึ้นไปอยู่สูงจากพื้นดินขึ้นไปไม่เกิน  80  กิโลเมตร  อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศชั้นนี้จะลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงขอบสุดเรียกว่าเมโซพอส  (Mesopause)  มีอุณหภูมิ  -  90  องศาเซลเซียส

4)  เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)

เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่นอกสุด  อยู่ถัดจากชั้นบรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์   สูงตั้งแต่ประมาณ  80  กิโลเมตรขึ้นไป  มวลอากาศในชั้นเทอร์โมสเฟียร์มิได้อยู่ในสถานะของก๊าซ หากแต่อยู่ในสถานะของประจุไฟฟ้า เนื่องจากอะตอมของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบน ได้รับรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ เช่น รังสีเอ็กซ์  และแตกตัวเป็นประจุ  อย่างไรก็ตามแม้ว่าบรรยากาศชั้นนี้จะมีอุณหภูมิสูงมาก  มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆตามระดับความสูงคือจาก – 90  องศาเซลเซียส  ไปจนขอบบนสุดของชั้นนี้หรือที่เรียกว่าไอโอโนพอส  (Ionopause)  อาจมีอุณหภูมิสูงถึง  1,500  องศาสเซลเซียส แต่ก็มิได้มีความร้อนมาก เนื่องจากมีอะตอมของก๊าซอยู่เบาบางมาก (อุณหภูมิเป็นเพียงค่าเฉลี่ยของพลังงานในแต่ละอะตอม ปริมาณความร้อนขึ้นอยู่กับมวลทั้งหมดของสสาร)

เหนือชั้นเทอร์โมสเฟียร์ขึ้นไป ที่ระยะสูงประมาณ 500 กิโลเมตร โมเลกุลของอากาศอยู่ห่างไกลกันมาก จนอาจมิสามารถวิ่งชนกับโมเลกุลอื่นได้   ในบางครั้งโมเลกุลซึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเหล่านี้ อาจหลุดพ้นอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก   เราเรียกบรรยากาศในชั้นที่อะตอมหรือโมเลกุลของอากาศมีแนวโน้มจะหลุดหนีไปสู่อวกาศนี้ว่า “เอ็กโซสเฟียร์” (Exosphere)  บางครั้งเราเรียกบรรยากาศที่ระดับความสูง 80-400 กิโลเมตร ว่า “ไอโอโนสเฟียร์” (Ionosphere)  เนื่องจากก๊าซในบรรยากาศชั้นนี้มีสถานะเป็นประจุไฟฟ้า ซึ่ง มีประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคม

 

กลไกคุ้มครองสิ่งมีชีวิต

โลกรับพลังงานส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งรังสีที่มีคุณประโยชน์และเป็นโทษแก่สิ่งมีชีวิต   บรรยากาศของโลกแม้จะมีความเบาบางมาก แต่ก็มีความหนาแน่นพอที่จะปกป้องรังสีคลื่นสั้น เช่น รังสีเอ็กซ์ และรังสีอุลตราไวโอเล็ต ไม่ให้ลงมาทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกได้ 

 

  • ที่ระดับความสูงประมาณ 80-400 กิโลเมตร โมเลกุลของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบนสุด ดูดกลืนรังสีแกมมา และรังสีเอ็กซ์ จนทำให้อะตอมของก๊าซมีอุณหภูมิสูงจนแตกตัวเป็นประจุ (Ion) และสูญเสียอิเล็กตรอน บางครั้งเราเรียกชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยประจุนี้ว่า “ไอโอโนสเฟียร์” (Ionosphere)  มีประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคม   
  • รังสีอุลตราไวโอเล็ตสามารถส่องผ่านบรรยากาศชั้นบนสุดลงมาได้ แต่ถูกดูดกลืนโดยก๊าซโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ ที่ระยะสูงประมาณ 48 กิโลเมตร 
  • แสงที่ตามองเห็น หรือ แสงแดด สามารถส่องลงมาถึงพื้นโลกได้
  • รังสีอินฟราเรดถูกดูดกลืนโดยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน
    ในชั้นโทรโพสเฟียร์  ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวมีความอบอุ่น
  • คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุในบางความถี่ สามารถส่องทะลุบรรยากาศได้

 

 

2.4  ปัจจัยต่อการเกิดลักษณะภูมิอากาศต่างๆ

 

        1.  ลักษณะภูมิประเทศ  ได้แก่  ความสูงต่ำของพื้นที่  การวางตัวของแนวเทือกเขา  เป็นต้น

        2.  ความใกล้ไกลทะเล

        3.  ตำแหน่งละติจูด

        4.  กระแสน้ำในมหาสมุทร

        5.  ลมประจำที่พัดผ่าน

        6.  พายุหมุน

 

ภูมิอากาศที่สำคัญของโลก

        เขตภูมิอากาศที่สำคัญของโลกแบ่งออกเป็น  3  เขตใหญ่ตามลักษณะของอุณหภูมิได้แก่  ภูมิอากาศเขตร้อน  ภูมิอากาศเขตอบอุ่น  และภูมิอากาศเขตหนาว  ในแต่ละเขตภูมิอากาศยังแบ่งย่อยๆออกได้อีกตามเกณฑ์ที่ต่างกัน  เช่น  เกณฑ์แบ่งเขตภูมิอากาศของเคปเปน เป็นต้น 

 

 

เรื่องที่  3  ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคโลก

3.1  การเกิดกลางวันกลางคืน

ปรากฏการณ์กลางวัน  กลางคืน  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการที่โลกหมุนรอบตัวเอง  ซีกโลกในด้านที่เบนเข้าหาดวงอาทิตย์ได้รับแสงสว่าง  ซีกโลกด้านนั้นจะเป็นเวลากลางวัน  ส่วนในซีกที่ตรงข้ามคือด้านเงาของโลกได้รับความมืดเป็นเวลากลางคืน     โลกหมุนรอบตัวเองครบ  1  รอบใช้เวลา  23  ชั่วโมง  56 นาที  4.09  วินาที หรือประมาณ  1 วัน 

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=n6YOCer-zAQ


3.2  การเกิดฤดูกาล

ฤดูกาล (Season)  เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนของโลกเอียง 23.5°   ในฤดูร้อนโลกเอียงขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาว      หกเดือนต่อมา โลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร โลกเอียงขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ (แกนของโลกเอียง 23.5° คงที่ตลอดปี)   ทำให้ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูหนาว  ดังแสดงในภาพที่ 1  

 

 

 ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=8_dSV249fDg 

โลกมี 4 ฤดู อันได้แก่

  • ฤดูร้อน: เมื่อโลกหันซีกโลกนั้น เข้าหาดวงอาทิตย์ (กลางวันนานกว่ากลางคืน)โลกเอียงขั้วโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์  แสงอาทิตย์จึงตั้งฉากที่แนวทรอปิกออฟแคนเซอร์  ประมาณวันที่  21  มิถุนายน  ตำแหน่งนี้เรียกว่าวันเริ่มฤดูร้อน  ซีกโลกเหนือขึ้นไปมีระยะเวลากลางวันยาวกว่ากลางคืน  และจะนานขึ้นเรื่อยๆเมื่อใกล้ไปทางขั้วโลกเหนือ  และเหนือแนวอาร์กติกเซอร์เคิลขึ้นไปจะมีเวลากลางวันตลอด  24  ชั่วโมง  เช่น  ทางบริเวณภาคเหนือของประเทศนอร์เวย์  ซึ่งมีฉายาว่าดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน
  • ฤดูใบไม้ร่วง: เมื่อแต่ละซีกโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่ากัน (กลางวันนานเท่าๆ กลางคืน)แสงอาทิตย์ตั้งฉากที่แนวเส้นศูนย์สูตร  ประมาณวันที่  21  กันยายน  เรียกว่าวันเริ่มฤดูใบไม้ร่วง  กลางวันและกลางคืนเท่ากันทุกส่วนของโลก
  • ฤดูหนาว: เมื่อโลกหันซีกโลกนั้น ออกจากดวงอาทิตย์ (กลางคืนนานกว่ากลางวัน)โลกเอียงขั้วโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์  แสงอาทิตย์ตั้งฉากที่แนวทรอปิกออฟแคปริคอร์อน  ประมาณวันที่  21 ธันวาคม  เป็นวันเริ่มฤดูหนาว  ซีกโลกเหนือขึ้นไปมีระยะเวลากลางคืนยาวกว่ากลางวัน  และจะนานขึ้นเรื่อยๆเมื่อใกล้ไปทางขั้วโลกเหนือ  และแนวอาร์กติกเซอร์เคิลขึ้นไปจะมีเวลากลางคืนตลอด  24  ชั่วโมง
  • ฤดูใบไม้ผลิ: เมื่อแต่ละซีกโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่ากัน (กลางวันนานเท่าๆ กลางคืน)ประมาณ  21  มีนาคม  เป็นวันเริ่มฤดูใบไม้ผลิ  แสงอาทิตย์จะเลื่อนมาตั้งฉากที่แนวเส้นศูนย์สูตรอีกครั้งหนึ่ง  กลางวันและกลางคืนจึงเท่ากันทุกส่วนของโลก

แต่เนื่องจากพื้นผิวโลกมีสภาพแตกต่างกันไป เช่น ภูเขา ที่ราบ ทะเล มหาสมุทร ซึ่งส่งอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศ  ประเทศไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ จึงตกอยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม (Monsoon) ทำให้ประเทศไทยมี 3 ฤดู ประกอบด้วย

  • ฤดูร้อน: เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน: เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว: เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์

 

3.3  พระอาทิตย์เที่ยงคืน

จากการที่แกนโลกเอียงทำมุมกับแนวดิ่ง 23.5 องศา  และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=253cMKCyyxE


[1] วิภู รุโจปการ.เอกภพเพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ:นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์,2548.

Tags : geography

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view